ต่อยอดการวิจัย ในภูมิภาคอาเซียน
แรงผลักดันจากศิษย์เก่า MIT อย่างชาติศิริ โสภณพนิช ดร กอบศักดิ์ ภูตระกูล รวมไปถึงแรงสนับสนุนจากองค์กรธุรกิจหลายแห่งในประเทศไทย ใช้เวลา 4 ปี เพื่อให้สถาบันบริหารธุรกิจ เอ็มไอที สโลน ใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการตั้งสำนักงาน ในการทำการศึกษาวิจัย ให้กับผู้ประกอบการครอบคลุมในภูมิภาคอาเซียน
เอ็มไอที เข้ามาแล้วจะทำอะไร ได้คำตอบจาก เดวิด คาโพดิลูโป ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโปรแกรมระดับโลกของเอ็มไอทีว่า มีงาน 3 ด้านที่ต้องทำ คือ 1 วางแผน ว่าจะต้องทำงานวิจัยอะไร กับใคร ให้ความรู้อย่างไร และที่สำคัญงานวิจัยนั้นจะต้องถูกนำไปปฎิบัติได้จริง 2.วิจัยเรื่องอะไร จะตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมาเพื่อหาประเด็นของการลงมือทำงานวิจัย ลงรายละเอียดกับสปอนเซอร์ ต้องร่วมมือกับหน่วยงานใด หรือภาคเอกชนรายใดในการทำงานวิจัย และ 3 ศิษย์เก่า จะต้องใช้ช่องทางของศิษย์เก่าในการดำเนินงานที่ คาโพดิลูโป ยอมรับว่าการเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่ตั้ง เพราะมีจำนวนศิษย์เอ็มไอทีจำนวนมากที่สุดในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ยังไม่นับรวมผู้อุปถัมภ์รายการหรือที่เรียกว่า founder จำนวนมากที่ต้องการทำงานวิจัยร่วมกับเอ็มไอที
สิ่งที่ เอ็มไอที เห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรต้องรีบทำในภูมิภาคนี้ คือเรื่องปํญหาโลกร้อน หรือ climate change คุณภาพน้ำ ปัญหาน้ำในภาคการเกษตร ปัญหาเรื่องการใช้พลังงาน และปัญหาสุขภาพ จากภาวะสูงวัย
สิ่งที่เอ็มไอทีมี คือ บุคลากรที่มีคุณภาพด้านการวิจัย นวัตกรรม เอไอ ลูกศิษย์ของเอ็มไอที มีความพร้อมที่จะทำงานวิจัยในทุกรูปแบบ มีระบบ ระเบียบ วิธีการที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ และสุดท้ายลงมือปฎิบัติให้เกิดผลสำเร็จ เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถใช้ประโยชน์จากอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตได้อย่างเต็มที่
กอบศักดิ์ ภูตระกูล ศิษย์เก่าเอ็มไอที กล่าวว่ายิ้มแย้มว่าต้องใช้เวลาถึง 4 ปีเพื่อทำให้เอ็มไอทีเลือกประเทศไทยตั้งสำนักงาน รองจากประเทศชิลี สิ่งที่ได้นอกจากจะได้งานวิจัย ที่เรียกว่า “เจ็งเจ๋ง” ในระดับสุดยอดเป็นที่ยอมรับระดับโลกแล้ว เรายังจะได้รับฟังและอบรมจากบุคคลากรของเอ็มไอที โปรเฟสเซอร์ที่มีชื่อเสียงจะใช้ประเทศไทยเป็นที่จัดสัมมนา โดยเราไม่ต้องไป
ที่อเมริกา เค้าจะบินมาให้ความรู้เราอย่างเต็มที่ ความคิดดี ดี จะได้รับกันอย่างทั่วถึง ถือเป็นโอกาสอันดืที่เลือกประเทศไทยเป็นฐานในภูมิภาคอาเซียน