ปีกลองการเลือกตั้ง ดังสนั่นหวั่นไหว นักการเมืองที่หวังจะอยู่ต่อ ทำต่อ ทำอีก งัดกลยุทธ์ทุกรูปแบบเพื่อให้กลับเข้าไปอยู่ในวังวนของอำนาจอีกครั้ง
สัญญาหลายอย่างที่นักการเมืองทุมเท งัดกลยุทธ์เพื่อมอมเมาประชาชน สัญญาว่าจะให้ ถ้าได้รับเลือก
ประชานิยม เพื่อให้ได้คะแนนเสียง เรียกว่า เอาไว้ก่อน ได้เมื่อไหร่จะทำให้ หรือไม่ทำ นโยบายของทุกพรรคที่นำออกมาเรียกคะแนนเสียง คือการแจก จ่าย ให้ และให้
โดยไม่ได้คำนึงว่า จะเอาเงินที่ไหนมาให้ งบประมาณยังคงขาดดุล แถมที่ขาดดุลเพราะรายจ่ายส่วนใหญ่ของงบประมาณทุ่มเทไปยังงบประจำ เงินเดือน ซื้อโต๊ะตู้เตียง ซื้ออาวุธ ฯลฯ ที่เหลืออีกเพียงน้อยนิด ถึงจะพูดว่านำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ
ขณะที่โลกมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไทยยังติดกับกับดักของความเป็นประชานิยม คำสัญญาจอมปลอม ที่มีมาทุกยุคทุกสมัย
ไปดูว่าผลกระทบที่เกิดจากนโยบายหาเสียง มีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมกันอย่างไร
ผลกระทบของนโยบายหาเสียง
- นโยบายหาเสียงส่วนใหญ่เน้นนโยบายประชานิยมแบบให้เปล่า/ไม่มีเงื่อนไข จะใช้งบประมาณภาครัฐสูง สร้างภาระการคลัง และสร้างผลเสียระยะยาว เช่น ลูกหนี้เสียวินัยทางการเงิน แทรกแซงกลไกตลาด บิดเบือนแรงจูงใจในการปรับตัว / ยกระดับผลิตภาพการผลิตระยะยาวของธุรกิจ
- งานวิจัยของ TDRI (28 ก.พ. 66) ระบุว่า หลายนโยบายอาจสร้างปัญหาในระยะยาวจากการใช้งบประมาณภาครัฐเกินตัวและการใช้เงินนอกงบประมาณ ซึ่งตรวจสอบได้ยาก โดยนโยบายที่ไม่ซ้ำกันของ 9 พรรคการเมืองอาจต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นถึง 3.14 ล้านล้านบาท เทียบกับงบประมาณของรัฐบาลปี 66 ที่ 3.18 ล้านล้านบาท(ยังไม่รวมเงินนอกงบประมาณ)และหากมีงบประมาณไม่เพียงพอ จนรัฐต้องกู้เพิ่ม จะส่งผลต่อหนี้สาธารณะ (สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ ธ.ค. 65 = 61% / ในช่วงปกติ เพดานหนี้สาธารณะของไทยไม่ควรเกิน 60% ต่อ GDP ตามการกำหนดของคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ แต่ในช่วงโควิด หลายประเทศรวมทั้งไทยได้ขยายเพดานหนี้สาธารณะเพื่อเพิ่มพื้นที่การคลังให้กับรัฐบาล ในการออกมาตรการช่วยเหลือ/เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ โดยไทยได้ขยายเพดานไปที่ 70% ต่อ GDP)
- นโยบายที่จะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการเติบโตของประเทศในระยะยาว ควรให้ความสำคัญกับประเด็น
- การแก้หนี้อย่างยั่งยืน ต้องทำอย่างครบวงจรและตรงจุด เช่น ปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถของลูกหนี้ / ไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ เช่น พักหนี้ไปเรื่อย ๆ จนทำให้มีภาระดอกเบี้ยเพิ่ม / ไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ เช่น ลบ/แก้ประวัติสินเชื่อของลูกหนี้ จนสถาบันการเงินไม่รู้จักลูกหนี้และไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ และที่สำคัญ ต้องสร้างรายได้ควบคู่ด้วย
- การเพิ่มผลิตภาพ/การลงทุน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเติบโตของไทยในระยะยาวควบคู่ไปกับการเพิ่มรายได้ ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะ/คุณภาพของแรงงาน เช่น ปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้แรงงานมีทักษะ/คุณสมบัติตรงกับความต้องการของตลาดในอนาคต upskill/re-skill แรงงาน รวมถึงการเพิ่มผลิตภาพการผลิต โดยเฉพาะในภาคการเกษตรที่ยังมีผลิตภาพต่ำกว่าภาคอื่น ๆ เช่น ปรับโมเดลเกษตรให้เหมาะกับพื้นที่ (ปลูกพืชมูลค่าสูง/หรือทำเกษตรผสมผสาน) ใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตร (เช่น smart farming) ซึ่งภาครัฐควรเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตรเพิ่มเติมด้วย เช่น ระบบชลประทาน
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เช่น พัฒนาคุณภาพการศึกษา สาธารณสุข คมนาคม รวมไปถึงระบบ social safety net ที่ยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังที่มากจนเกินไป
- การวางรากฐานทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับกระแสโลกใหม่ เช่น การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างโอกาสใหม่ ๆ จากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
เพื่อผลักดันนโยบายที่เหมาะสมให้เกิดได้จริงและยั่งยืน ภาครัฐต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
มีความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนนโยบาย และกระบวนการใช้จ่ายโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งบางเรื่องต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า พร้อมทั้งต้องรักษาวินัยทางการคลัง (วางแผนแหล่งเงินทุนให้เหมาะสม และคำนึงถึงความยั่งยืนของฐานะการคลังในระยะยาว เช่น ระดับหนี้สาธารณะ)
ตัวอย่างผลกระทบของนโยบายต่าง ๆ
นโยบาย | ผลกระทบ |
นโยบายพักหนี้ เช่น พักหนี้ 1 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี *ไม่มีประเทศใดในโลกที่งดคิดดอกเบี้ยในช่วงพักหนี้ **ต่างประเทศได้ทยอย exit มาตรการพักหนี้ที่ออกมาในช่วงโควิดแล้ว เช่น สิงคโปร์ (สิ้นสุด มิ.ย. 64) จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย (สิ้นสุด ธ.ค. 64) อินโดนีเซีย (สิ้นสุด มี.ค. 65) | ผลเสียต่อลูกหนี้: ภาระหนี้เพิ่มขึ้น เพราะแม้พักหนี้ ดอกเบี้ยยังเดินอยู่* และเมื่อไม่ต้องจ่ายหนี้ เลยอาจยิ่งสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ก่อหนี้เพิ่ม ทำให้หลังครบกำหนดการพักหนี้ ลูกหนี้อาจไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ผลสำรวจเกษตรกร 1 ล้านราย กว่า 41% ได้พักหนี้เกินกว่า 4 ปี ทำให้สะสมหนี้สูงขึ้นมาก (ติดกับดักหนี้) และเพิ่มโอกาสการเป็นหนี้เสีย ที่สำคัญคือ ยิ่งอยู่ในโครงการพักหนี้นาน ยิ่งทำให้ผลเสียเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับหนี้ปานกลางและสูง (อิงจากการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เรื่อง กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก 20 ต.ค. 65 กับดักหนี้ กับการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินครัวเรือนฐานราก | PIER)ภาระทางการคลัง เพิ่มขึ้น (หากรัฐต้องใช้งบประมาณเพื่อชดเชยให้สถาบันการเงิน) โดยกรณีพักหนี้ประชาชนไม่เกิน 1 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี จะมียอดหนี้ประมาณ 4.2 ล้านล้านบาทที่ได้รับการพัก ซึ่งภาครัฐอาจต้องจ่ายชดเชยค่าดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินกว่า 8 แสนล้านบาท (คิดจากดอกเบี้ย MRR เฉลี่ย 7%)[1]ผลเสียต่อสถาบันการเงิน: แบงก์ที่ไม่ได้รับชำระหนี้มีรายได้ลดลง ปล่อยสินเชื่อใหม่ได้น้อย หรือนำไปช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนจริง ๆ ได้ไม่เพียงพอ |
นโยบายเกี่ยวกับเครดิตบูโร เช่น การลบประวัติลูกหนี้ในข้อมูลเครดิตบูโร *NCB ไม่เคยจัดทำ/ขึ้นบัญชีดำกับใครไว้ในฐานข้อมูล แต่เก็บประวัติการชำระหนี้รายเดือนตามความจริงเป็นเวลา 3 ปี และแต่ละเดือนจะระบุสถานะ คือ ปกติ หรือ ค้างชำระ | ผลเสียต่อลูกหนี้: ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อยากขึ้น/แพงขึ้น เพราะแบงก์จะไม่มีข้อมูลลูกหนี้ในการประเมินสินเชื่อ ทำให้ไม่กล้าปล่อย หรือถ้าปล่อยก็คิดดอกเบี้ยแพง และการลบประวัติทิ้ง ก็ไม่ได้ช่วยให้ภาระหนี้เดิมของลูกหนี้ลดลง หรือในทางกลับกัน แบงก์จะไม่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการจ่ายหนี้ของลูกหนี้ อาจทำให้ปล่อยสินเชื่อเกินความสามารถของลูกหนี้ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกหนี้ก่อหนี้เกินตัวได้แม้เจ้าหนี้อื่น ๆ จะเห็นประวัติเราในเครดิตบูโร 3 ปีย้อนหลัง แต่ถ้าเราจ่ายหนี้ตามตารางใหม่ไปได้เรื่อย ๆ ประวัติที่เราจ่ายไม่ดี ก็จะค่อย ๆ หายไป [ปัจจุบัน เจ้าหนี้บางแห่งให้โอกาสลูกหนี้ว่าถ้าเคยเป็นหนี้เสีย แต่ปรับปรุงตัว พยายามจ่ายตรงเวลาได้ 6 เดือน ก็ยินดีจะปล่อยสินเชื่อให้ใหม่แล้ว]ผลเสียต่อสถาบันการเงิน: แบงก์ประเมินความเสี่ยงลูกหนี้ไม่ได้ เพราะเห็นข้อมูลไม่ครบ ทำให้แยกแยะลูกหนี้ดี-ไม่ดี ออกจากกันไม่ได้ แบงก์จึงยิ่งมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ เพิ่มโอกาสเป็นหนี้เสีย แม้ปัจจุบันจะมีข้อมูล NCB แต่ลูกหนี้ยังได้รับวงเงินรวมสูงกว่ารายได้ต่อเดือนมาก (เกือบ 30% ของลูกหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคลมีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10-25 เท่าของรายได้แต่ละเดือน) หากไม่มีข้อมูล NCB จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้แบงก์ในการปล่อยสินเชื่อเกินความสามารถของลูกหนี้ และอาจกลายเป็นหนี้เสียได้ตัวอย่างต่างประเทศ: แอฟริกาใต้ มีการลบข้อมูลเครดิต 2 ครั้ง – ปี 2007 : พบว่า 68% ของลูกหนี้ทั้งหมดที่ได้รับการลบประวัติ เกือบ 50% ยังกลับมาเป็นหนี้เสียอีกครั้ง – ปี 2014 : ผู้ให้กู้ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยเพราะทำให้แยกแยะลูกหนี้ดี / ไม่ดี ไม่ได้ และไม่มั่นใจว่าลูกหนี้จะรักษาวินัยทางการเงินดีพอหรือไม่ |
นโยบายแรงงาน เช่น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ | ผลบวก: แรงงานมีรายได้เพิ่มขึ้น/ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต เพราะค่าแรงที่แท้จริงของไทยไม่ค่อยโตในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผลเสียที่ต้องระวัง: ต้นทุนธุรกิจเพิ่มขึ้น (แต่ผลิตภาพอาจไม่ได้เพิ่มขึ้น) โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่มีสัดส่วนต้นทุนแรงงานสูง เช่น โรงแรม การค้าส่ง ร้านอาหาร ผลิตเครื่องแต่งกายแรงงานอาจถูกเลิกจ้าง หากธุรกิจต้องลดต้นทุน/ปรับไปใช้เครื่องจักรมากขึ้น (เริ่มเห็นบางธุรกิจหันไปใช้เครื่องจักรทดแทนมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา)หากต้นทุนของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น จะเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้า/บริการ ส่งผลให้เงินเฟ้อ/ค่าครองชีพปรับสูงขึ้น กระทบความสามารถในการแข่งขัน/ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (foreign direct investment) หากต้นทุนแรงงานของไทยสูงกว่าของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ขณะที่คุณภาพแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม |
นโยบายภาคเกษตร เช่น การประกันราคาสินค้าเกษตร การให้เงินอุดหนุนเกษตรกร | สร้างภาระการคลังสูง โดย TDRI ระบุนโยบายประกันรายได้/ราคาสินค้าเกษตร และให้เงินอุดหนุนชาวนา/ชาวประมง อาจต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 4.57 แสนล้านบาทการอุดหนุนโดยไม่มีเงื่อนไขมักทำลายแรงจูงใจของเกษตรกรในการปรับตัวเพื่อเพิ่มผลิตภาพ/สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตนเอง |
นโยบายเพิ่มสวัสดิการ เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ | สร้างภาระการคลังสูง โดย TDRI ระบุการเพิ่มเงินสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุเป็น 3,000 บาท/เดือน จากอัตราปัจจุบันที่ 600 – 1,000 บาท เป็นนโยบายสวัสดิการที่มีต้นทุนทางการคลังสูงที่สุด โดยอาจต้องใช้เงินถึงปีละ 5 แสนล้านบาท |
[1] คำนวณจากลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้ไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 21.6 ล้านคน จากฐานข้อมูล NCB ณ ต.ค. 65